ที่มาของงานวิจัย - OKMSSELS

ที่มาของงานวิจัย

งานวิจัย เรื่อง ระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป (The Development an Online Knowledge Management Support System for Enhance Learning Skills in the Digital Age for the Next Normal.)

 

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอันรวดเร็วทำให้การศึกษาไม่อาจสิ้นสุดอยู่เพียงในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น เพราะเชื่อว่าการศึกษาควรเกิดจากการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่มีเป้าประสงค์ต่อการปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม พบว่าการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถเกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากประสิทธิภาพและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวหน้าของประเทศไทยมีความเจริญขึ้นเป็นอย่างมาก รวมถึงจากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยด้านการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ พบว่าพื้นฐานของประชาชนทุกคนย่อมมีความสนใจในทักษะความรู้ที่แตกต่างกันไป เช่น วัย หรือระดับการศึกษา การศึกษาในห้องเรียนตามรูปแบบย่อมไม่เพียงพอต่อยุคสมัยแล้ว จึงควรมีการเปิดรับองค์ความรู้ใหม่ที่ตนเองต้องการ เพราะเหตุผลโดยรวมแล้วประชาชนทุกคนล้วนมีความต้องการที่จะเพิ่มทักษะของตนให้สูงขึ้นเหมือนกันทั้งหมด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตหรือการประกอบอาชีพของตนเองให้มีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น จึงนำไปสู่ความพร้อมที่เปิดรับความเป็นสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล การพัฒนาคุณภาพการศึกษาและความพร้อมของการจัดการศึกษาของประเทศให้มีมาตรฐานในระดับประเทศที่จะส่งผลสะท้อนถึงระดับการเรียนรู้ก็คือครูผู้สอน ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ครูจึงเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ต่าง ๆ ไปยังผู้เรียน ทำให้เกิดการพัฒนาความสามารถทั้งในเชิงวิชาการและทักษะที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้การดำเนินชีวิตดีขึ้น การจะพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพในยุคประเทศไทย 4.0 และเชื่อมโยงกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้นั้นจึงต้องอาศัยครูและผู้เรียนต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ส่งผลให้ยุทธศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี ในด้านการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์การสร้างองค์ความรู้พื้นฐานของประเทศ และขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของคนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับนวัตกรรมและการศึกษา จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ประกอบกับจังหวัดฉะเชิงเทราก็เป็นจังหวัดที่อยู่ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จึงควรมีการพัฒนาระบบสารสนเทศการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และยังสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) ได้กำหนดวิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย และยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ ไว้ดังนี้ วิสัยทัศน์ “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21” โดยมีจุดมุ่งหมายในการจัดการศึกษา 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ 2) เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ชาติ 3) เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง สำหรับเป้าหมายของการจัดการศึกษา แบ่งได้ 5 ประการ คือ 1) ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง 2) ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม 3) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ 4) ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย และ 5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง โดยเป้าหมายดังที่กล่าวมาได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติออกเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 คือ การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 5 คือ การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ที่ 6 คือ การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศถือว่ายังน่ากังวลเนื่องจากยังมีการพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และทวีคูณการแพร่ระบาดไปในวงกว้าง ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานในภาคธุรกิจ และการศึกษา รวมถึงด้านอื่น ๆ ในหลายประเทศ ทั่วโลกต้องพบกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การขาดแคลนบุคลากร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในขณะที่วัคซีนกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ทดลอง และผลิต การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสเป็นสิ่งที่สำคัญ และสามารถทำได้ในเวลานี้คือการช่วยในการป้องกันและควบคุมโรค การพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไปจึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการที่จะช่วยสนับสนุนครู บุคลากรทางการศึกษา นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และนักเรียน ที่จะได้ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนสามารถทำการเรียนการสอนได้ขณะอยู่ที่พักอาศัย ซึ่งจะเป็นการช่วยป้องกัน และลดกระจายของเชื้อไวรัสให้อยู่ในวงที่จำกัดสามารถควบคุมได้ โดยเนื้อหาภายในระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ออนไลน์มีความพร้อมที่จะให้ผู้สอนและผู้เรียน นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยไม่ต้องหาข้อมูลอื่นเพิ่มเติม ผู้วิจัยได้พัฒนาสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจวิธีการเรียนการสอนในสถานการณ์เช่นนี้ ได้แก่ การพัฒนาสื่อความรู้ออนไลน์ แบ่งได้ 5 หัวข้อหลัก จำนวนรวม 70 สื่อ ดังนี้
1. การใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยในการเรียนการสอนออนไลน์
2. การใช้งานเครื่องมือของกูเกิลสำหรับช่วยในการเรียนการสอนออนไลน์
3. การการเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยเฟซบุ๊กและยูทูป
4. การจัดการหลักสูตรและการสอน
5. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์กิจกรรมเพิ่มทักษะและความรู้พื้นฐานของวิทยาการคำนวณโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์

สำหรับเนื้อหาแต่ละหมวดหมุ่  ดังนี้

1. การใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอนออนไลน์ (จำนวน 7 สื่อ)
1 การเลือกไมโครโฟนที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
2 การเลือกหูฟังที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
3 การเลือกมอนิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
4 การติดตั้งและใช้งานมัลติมอนิเตอร์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
5 การใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
6 การใช้แท็บเล็ตสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์
7 การเลือกแพ็กเก็ตอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนออนไลน์
2. การใช้งานเครื่องมือของกูเกิลสำหรับช่วยในการเรียนการสอนออนไลน์ (จำนวน 40 สื่อ)
จีเมล์ (6 สื่อ)
8 การสร้างบัญชีสำหรับการใช้งานจีเมล
9 การสร้างบัญชีจีเมลสำหรับการใช้งานในระดับสถานศึกษา
10 การตรวจสอบพื้นที่จัดเก็บอีเมลของจีเมล
11 การสร้างอีเมลและจัดส่งอีเมลของจีเมล
12 การแนบไฟล์เอกสารจากแหล่งอื่นไปยังอีเมลของจีเมล
13 การจัดการบัญชีรายชื่อผู้ติดต่อของจีเมล
กูเกิลไดร์ฟ (6 สื่อ)
14 การสร้างบัญชีสำหรับการใช้งาน
15 การสร้างบัญชีสำหรับการใช้งานในระดับสถานศึกษา
16 การสร้างไดร์ฟสำหรับเก็บข้อมูล
17 การกำหนดสิทธิ์สำหรับการใช้งานในแต่ละโฟลเดอร์ภายในไดร์ฟ
18 การแชร์สิทธิ์ไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้อง
19 การตรวจสอบไฟล์บันทึกการประชุมของกูเกิลมีทผ่านกูเกิลไดร์ฟ
กูเกิลคลาสรูม (8 สื่อ)
20 การสร้างและจัดการชั้นเรียน
21 การสร้างและจัดการรายวิชา
22 การสร้างและจัดการผู้สอน
23 การสร้างและจัดการผู้เรียน
24 การส่งงานมอบหมาย และการตรวจงาน
25 การทำข้อสอบและเก็บคะแนนของผู้เรียน
26 การตรวจสอบรายงานผลคะแนนของผู้เรียน
27 การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
กูเกิลมีท (6 สื่อ)
28 การสร้างบัญชีสำหรับการใช้งานกูเกิลมีท
29 การกำหนดห้องประชุม
30 การสร้างห้องประชุมล่วงหน้า
31 การปรับแก้ไขห้องประชุม
32 การบันทึกการประชุม
33 การปรับแต่งธีม
กูเกิลด็อก (6 สื่อ)
34 การสร้างเอกสารไฟล์งานร่วมกันระหว่างนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
35 การสร้างเอกสารไฟล์งานมอบหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
36 การกำหนดสิทธิ์การใช้งานร่วมกัน
37 การจัดเก็บไฟล์เอกสารที่เป็นระบบและพร้อมแชร์ไฟล์ระหว่างผู้ใช้งาน
38 การทดสอบเพิ่มข้อมูลในเอกสารร่วมกันเพื่อจำลองการทำงานกลุ่มของผู้เรียน
39 การทดสอบปรับแก้ไขข้อมูลในไฟล์เอกสารร่วมกันเพื่อให้ข้อมูลไม่ซ้ำซ้อน
กูเกิลชีท (5 สื่อ)
40 การจัดเก็บไฟล์เอกสารกูเกิลชีทที่เป็นระบบและพร้อมแชร์ไฟล์ระหว่างผู้ใช้งาน
41 การสร้างเอกสารตรวจสอบการเข้าเรียนของผู้เรียนออนไลน์
42 การสร้างเอกสารตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียนออนไลน์
43 การสร้างเอกสารและแสดงผลข้อมูลสถิติของสถานศึกษา
44 การประยุกต์ใช้กูเกิลชีทในงานเอกสารอื่น
กูเกิลสไลด์ (3 สื่อ)
45 การสร้างและแสดงสื่อนำเสนอออนไลน์
46 การแสดงสื่อนำเสนอจากข้อมูลแหล่งอื่นพร้อมแสดงภาพกราฟ
47 การประยุกต์ใช้กูเกิลสไลด์ในการนำเสนอข้อมูลให้มีความหลากหลาย
3. การเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยเฟซบุ๊กและยูทูป (17 สื่อ)
เฟซบุ๊ก (5 สื่อ)
48 การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยเฟซบุ๊ก
49 การสร้างบัญชีผู้ใช้งานเฉพาะสำหรับสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยเฟซบุ๊ก
50 การปรับแต่งค่ามาตรฐานของการใช้งาน
51 การกำหนดคีย์สตรีมเพื่อเชื่อมต่อบัญชีเฟซบุ๊กสำหรับการสตรีมมิ่ง
52 การสตรีมมิ่งเฟซบุ๊กผ่านคีย์สตรีมด้วยโปรแกรมโอบีเอส
ยูทูป (5 สื่อ)
53 การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยยูทูป
54 การสร้างบัญชีผู้ใช้งานเฉพาะสำหรับสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยยูทูป
55 การปรับแต่งค่ามาตรฐานของการใช้งาน
56 การกำหนดคีย์สตรีมเพื่อเชื่อมต่อบัญชียูทูปสำหรับการสตรีมมิ่ง
57 การสตรีมมิ่งยูทูปผ่านคีย์สตรีมด้วยโปรแกรมโอบีเอส
สตรีมแลปโอบีเอส (7 สื่อ)
58 การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แบบสตรีมมิ่งด้วยสตรีมแลปโอบีเอส
59 การเชื่อมต่อบัญชีสตรีมแลปโอบีเอสสำหรับการสตรีมมิ่ง
60 การปรับแต่งค่ามาตรฐานของการใช้งาน
61 การปรับแต่งข้อมูลนำเข้าโปรแกรมโอบีเอส
62 การเพิ่มกล้องเว็บแคมขณะสตรีมมิ่ง
63 การเพิ่มข้อความขณะสตรีมมิ่ง
64 การเพิ่มภาพขณะสตรีมมิ่ง
4. การจัดการหลักสูตรและการสอน (3 สื่อ)
65 การจัดการหลักสูตรและการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป
66 การออกแบบหลักสูตรและการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป
67 การพัฒนาหลักสูตรและการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป
5. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์กิจกรรมเพิ่มทักษะและความรู้พื้นฐานของวิทยาการคำนวณโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ (3 สื่อ)
68 การเดินทางที่แสนพิเศษ
69 การเดินทางที่มาพร้อมกับอุปสรรค
70 การเดินทางไกลที่มีเป้าหมาย

 

ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะมีการจัดลำดับการเรียนรู้ก่อนหลังที่ไม่ซับซ้อน หากผู้สอนและผู้เรียนนำไปปรับใช้ก็จะนำมาซึ่งความสะดวกต่อการเรียนการสอน เหมาะสมที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบัน
ดังนั้นผู้วิจัย จึงได้มีแนวคิดที่จะการพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป โดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป 2. เพื่อพัฒนาสื่อความรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป และ 3. เพื่อประเมินคุณภาพระบบสนับสนุนการจัดการความรู้ออนไลน์เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลสู่ชีวิตวิถีถัดไป ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องต่อแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ในยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์ที่ 4 คือ การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา และยุทธศาสตร์ที่ 6 คือ การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา ซึ่งจะเป็นความพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเนื้อหาด้วยตนเอง โดยไม่มีค่าบริการ ไม่จำกัดเวลา หรือสถานที่ในการศึกษา

 

ผู้วิจัย

รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์วิมล วังแก้วหิรัญ – คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
ตำแหน่ง หัวหน้าโครงการวิจัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐที ปิ่นทอง
ตำแหน่ง ผู้วิจัย

 

ทุนวิจัย

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566